- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: เมนูผู้ใช้
- ฮิต: 3049
HCV (High Conservation Value)
พื้นที่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง (High Conservation Value Area) คือ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางชีววิทยา นิเวศวิทยา สังคม หรือวัฒนธรรม ซึ่งคุณค่าเหล่านี้ถือว่ามีความโดดเด่น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลกซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
HCV 1 Biodiversity Values : พื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
- HCV 1.1 Protected areas : พื้นที่สงวนคุ้มครอง, พื้นที่มรดกโลก
- HCV 1.2 Rare, threatened or endangered species : พื้นที่ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์สัตว์และพืชที่หายากถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์
- HCV 1.3 Endemic species : พื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์ประจำถิ่น
- HCV 1.4 Seasonal concentrations of species : เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ชั่วคราวของสัตว์ที่อพยพย้ายถิ่น ที่วางไข่และผสมพันธุ์ตามฤดูกาล รวมถึงพื้นที่แหล่งอาหารของสัตว์ เช่น เป็นที่อยู่อาศัยของนกที่อพยพในฤดูหนาว,พื้นที่วางไข่, ดินโป่งซึ่งเป็นแหล่งแร่ธาตุของสัตว์ป่าเป็นต้น
HCV 2 Large landscape : พื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติเป็นที่อยู่อาศัย และการดารงชีวิตของชนิดพันธุ์ที่มีจานวนมากและกระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งพื้นที่
HCV 3 Ecosystems : พื้นที่ที่เป็นแหล่งระบบนิเวศที่หายากที่ถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์
HCV 4 Basic ecosystems service in critical situations : พื้นที่ที่คุ้มครองป้องกันระบบนิเวศพื้นฐานในสภาวะวิกฤต ประกอบด้วย :
- HCV 4.1 Water catchments : พื้นที่ต้นน้ำ
- HCV 4.2 Erosion control : พื้นที่ควบคุมการพังทลายของดิน
- HCV 4.3 Barriers to destructive fire : พื้นที่ที่เป็นแนวป้องกันไฟ
HCV 5 Basic needs : พื้นที่ที่เป็นแหล่งรองรับในกิจกรรมแหล่งเก็บหาและใช้ประโยชน์ในปัจจัยพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นและของสัตว์ ประกอบด้วยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
HCV 6 Cultural identity : พื้นที่ที่เป็นแหล่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรม จารีตประเพณีของชุมชนท้องถิ่น เช่น เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา, ศาลหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนท้องถิ่นเคารพบูชา เป็นต้น
ผลงาน
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: เมนูผู้ใช้
- ฮิต: 1555
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 มีมติเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยภายในปี 2558 โดยบูรณาการแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายใต้แผนปฏิบัติการ 3 ปี (ปี 2556 - 2558) โดยเฉพาะแผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง (Flagship Project) จำนวนกระทรวงละไม่เกิน 10 โครงการ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้เสนอโครงการ ซึ่งสำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้พิจารณาบรรจุไว้ใน Flagship Project แล้ว คือ โครงการจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody : CoC)
การดำเนินงานโครงการ จัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody: CoC)
จากปัญหาการลดลงของทรัพยากรป่าไม้ตามธรรมชาติ มีสาเหตุหลักจากการขาดความตระหนักในการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างถูกวิธี มีการลักลอกตัดไม้จากป่าธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลต่อสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจโดยรวม การปลูกสร้างสวนป่าเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยรักษาทรัพยากรป่าไม้ในธรรมขาติ แต่ยังคงพบว่าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ที่จำหน่ายในตลาดปัจจุบันยังมีไม้จากป่าธรรมชาติปะปนอยู่ ซึ่งการจำแนกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ดังกล่าว ยังมีความยากลำบากอยู่มาก เนื่องจากมาตรฐานในการควบคุมสินค้าและผลิตภัณฑ์ไม้ในประเทศไทยยังมีการให้ความสำคัญน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว จะพบว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ไม้ต้องมีการรับรองว่าเป็นสินค้าที่มีการจัดการอย่างมีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งสินค้าดังกล่าวจะมีราคาสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่ไม้ได้รับการรับรอง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) จึงได้เริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody: CoC) ซึ่งเป็นสิ่งรับประกันได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการบริการจัดการและธรรมาภิบาลที่ดี อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและความตระหนักในการจัดการป่าไม้ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมให้สามารถแข่งขันในธุรกิจป่าไม้รองรับการเปิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาธุรกิจป่าไม้ของประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกขน ให้สามารถเป็นที่ยอมรับในระดับสากลให้ได้
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: เมนูผู้ใช้
- ฮิต: 1114
ภารกรรมสำนักนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ
สำนักนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ (ส.ศ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
2.1 สนับสนุนการเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาอ.อ.ป. ให้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ
2.2 ส่งเสริม สนับสนุน และแสวงหานวัตกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรที่มีอยู่ให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสร้างงาน สร้างรายได้
2.3 ศึกษาพัฒนาโครงการนวัตกรรม ประสานงานและทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ
2.4 ประสานความร่วมมือทั้งด้านวิชาการและการเงิน กับหน่วยงานหรือสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อยกระดับนวัตกรรมขององค์กร
2.5 เป็นที่ปรึกษา จัดการฝึกอบรม และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเกี่ยวกับมาตรฐานเพื่อการพัฒนาระบบการจัดการสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
2.6 กำหนดมาตรฐานและออกเอกสารรับรองการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประเทศไทย โดยความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เตรียมการจัดตั้งองค์กรแยกเป็นหน่วยงาน นิติบุคคลอิสระ เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานพื้นที่และผลิตผลการจัดการป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
2.7 ดำเนินงานด้านระเบียบ หลักเกณฑ์ และคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน
ของหน่วยงาน
2.8 คาดการณ์ วางแผนและบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงานที่รับผิดชอบให้เป็นตามเป้าหมาย สามารถป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดจากความเสี่ยงในการดำเนินงาน
2.9 ตรวจสอบและกำกับดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานประพฤติปฏิบัติตามเกณฑ์องค์กร ใสสะอาดด้วยความต่อเนื่อง
งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการด้านบริหารทั่วไป ด้านบัญชีและ
การเงิน ด้านบริหารงานบุคคล การพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง จัดทำบัญชีทรัพย์สิน จัดทำแผนและงบประมาณของสำนัก ดูแล รักษาทรัพย์สินและรักษาความสะอาดสำนักงาน และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ฝ่ายนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับติดตามดูแล กิจกรรมการดำเนินงาน ต่างๆ ทางด้านการพัฒนานวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ การจัดการสวน ป่าไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตามหลักวิชาการป่าไม้ งานทางด้านเทคโนโลยี ไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม้เศรษฐกิจ เป็นที่ปรึกษาในการตรวจประเมินและออกแบบ แผนการจัดการ พื้นที่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง (High Conservation Value : HCV) ให้กับ สวนปาล์มน้ำมันของเอกชน และเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและวางแผนระบบการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตาม มาตรฐาน FSC และระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody : CoC) ของโรงงานผลิตภัณฑ์ ไม้ ให้กับเอกชนและภาครัฐ งานบริหารจัดการความเสี่ยง เสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมการ /จัดการ… จัดการสวนป่าเศรษฐกิจและนวัตกรรมเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจ ติดต่อประสานงานสร้างความเข้าใจและแสวงหา ความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านการเงิน และด้านอื่นๆ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถาบันองค์กร ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมการจัดการสวนป่าและนวัตกรรมเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจ มาปรับปรุงประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการสวนป่า เสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย โดยการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการจัดการสวนป่าอย่าง ยั่งยืน เพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ องค์ความรู้ ทางด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจ เทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจทั้งภายในและนอกองค์กร และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ส่วนนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมกลั่นกรอง กิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ทางด้านการพัฒนานวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ การจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตามหลักวิชาการป่าไม้ งานทางด้านเทคโนโลยี ไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจ เป็นที่ปรึกษาในการตรวจประเมินและออกแบบ แผนการจัดการ พื้นที่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง (High Conservation Value : HCV) ให้กับ สวนปาล์มน้ำมันของเอกชน และเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและวางแผนระบบการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตาม มาตรฐาน FSC และระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody : CoC) ของโรงงานผลิตภัณฑ์ ไม้ให้กับเอกชนและภาครัฐ งานบริหารจัดการความเสี่ยง เสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมการ จัดการสวนป่าเศรษฐกิจและนวัตกรรมเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจ ติดต่อประสานงานสร้างความเข้าใจและแสวงหา ความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านการเงิน และด้านอื่นๆ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถาบันองค์กร ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมการจัดการสวนป่าและนวัตกรรมเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจ มาปรับปรุงประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการสวนป่า เสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย โดยการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการจัดการสวนป่าอย่าง ยั่งยืน เพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ องค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจ เทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจทั้งภายในและนอกองค์กร และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
งานนวัตกรรมการจัดการ มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรมการ ดำเนินงานต่างๆ ทางด้านการพัฒนานวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนป่า ไม้เศรษฐกิจ ตามหลักวิชาการป่าไม้เป็นที่ปรึกษาในการตรวจประเมินและออกแบบแผนการจัดการ พื้นที่ที่มีคุณค่า ด้านการอนุรักษ์สูง (High Conservation Value : HCV) ให้กับสวนปาล์มน้ำมันของเอกชน และเป็น ที่ปรึกษาในการออกแบบและวางแผนระบบการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC และระบบควบคุมการ เคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody : CoC) ของโรงงานผลิตภัณฑ์ไม้ ให้กับเอกชนและภาครัฐ เข้าร่วม ประชุม อบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน เสริมสร้าง พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมการจัดการสวนป่าเศรษฐกิจ ติดต่อประสานงานสร้างความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านการเงิน และด้านอื่นๆ กับ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถาบันองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ สวนป่า เสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย โดยการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน เพื่ออำนวย ประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ องค์ความรู้ทางด้าน นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจ เทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจทั้งภายในและนอกองค์กร และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
งานนวัตกรรมเทคโนโลยี มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรมการ ดำเนินงานต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจ เสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจ ติดต่อประสานงานสร้างความเข้าใจ และแสวงหาความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านการเงิน และด้านอื่นๆ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือสถาบันองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับ นโยบายและระดับปฏิบัติการ ด้านวัตกรรมเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจมาประยุกต์ ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการสวนป่า การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต การเสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการ จัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน เพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม้เศรษฐกิจทั้งภายในและนอกองค์กร และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ส่วนจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับติดตามดูแลงานด้าน การเป็นที่ปรึกษา จัดการฝึกอบรม และประสานความร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานเพื่อการพัฒนาระบบการ จัดการสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน วางแผนสนับสนุนด้านการตลาดเกี่ยวกับป่าและไม้เศรษฐกิจตามนโยบายของ รัฐบาล ดำเนินการกำหนดมาตรฐานและออกเอกสารรับรองการจัดการสวนป่าและไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของ ประเทศไทยโดยความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เตรียมการจัดตั้งองค์กรแยกเป็นหน่วยงาน/ นิติบุคคลอิสระเพื่อดำเนินการตรวจรับรองมาตรฐานพื้นที่และผลิตผลการจัดการสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและจัดการอบรมด้านทรัพยากรอินทรีย์ จัดหาข้อมูลพัฒนา Technology แนวทางวิธีการใช้และกำหนด มาตรฐานการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจจากไม้และผลิตผลที่เกี่ยวเนื่อง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชา มอบหมาย
งานวางระบบการจัดการ มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเป็นที่ปรึกษา จัดการฝึกอบรม และประสานความร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานเพื่อการพัฒนาระบบการจัดการสวนป่าเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน ส่งเสริมและจัดการอบรมด้านทรัพยากรอินทรีย์ วางแผนสนับสนุนด้านการตลาดเกี่ยวกับป่าและไม้ เศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ดำเนินการกำหนดมาตรฐานการจัดการสวนป่าและไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จัดหาข้อมูลพัฒนา Technology แนวทางวิธีการใช้และกำหนดมาตรฐานการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจจากไม้ และผลิตผลที่เกี่ยวเนื่อง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
งานรับรองการจัดการ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินการเตรียมการจัดตั้ง องค์กรแยกเป็นหน่วยงาน/นิติบุคคลอิสระเพื่อดำเนินการตรวจรับรองมาตรฐานพื้นที่และผลิตผลการจัดการสวนป่า เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ออกเอกสารรับรองการจัดการสวนป่าและไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประเทศไทยโดยความ ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ฝ่ายนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับติดตามดูแล กิจกรรมการดำเนินงาน ต่างๆ ทางด้านการพัฒนานวัตกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก กลไกการพัฒนาที่ สะอาด ชีวมวล พลังงานทดแทนและโครงการพิเศษต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ การใช้ประโยชน์จากไม้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้และเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งผลผลิตต่างๆ ได้แก่ ยางพารา เป็นต้น โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งานบริหารจัดการความเสี่ยง เสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมชีวมวล พลังงานทดแทนและโครงการ พิเศษต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ ติดต่อประสานงานสร้างความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านการเงิน และด้านอื่นๆ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถาบันองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมชีวมวล พลังงานทดแทน และนวัตกรรมอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ มาปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการสวนป่า พัฒนาองค์กร เสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย โดยการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการจัดการสวนป่า อย่างยั่งยืน เพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ องค์ ความรู้ทางด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจ เทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรมที่ เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจทั้งภายในและนอกองค์กร และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ส่วนนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมกลั่นกรองกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ทางด้านการพัฒนานวัตกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก กลไกการพัฒนาที่สะอาด ชีวมวล พลังงานทดแทนและโครงการพิเศษต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิง นิเวศและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ การใช้ประโยชน์จากไม้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไม้และเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งผลผลิตต่างๆ ได้แก่ ยางพารา เป็นต้น โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งานบริหารจัดการความเสี่ยง เสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมชีวมวล พลังงานทดแทนและโครงการ พิเศษต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ ติดต่อประสานงานสร้างความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านการเงิน และด้านอื่นๆ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถาบันองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมชีวมวล พลังงานทดแทน และนวัตกรรมอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ มาปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการสวนป่า พัฒนาองค์กร เสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย โดยการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการจัดการสวนป่า อย่างยั่งยืน เพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ องค์ ความรู้ทางด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจ เทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจและนวัตกรรมที่ เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม้เศรษฐกิจทั้งภายในและนอกองค์กร และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
งานนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ทางด้านชีวมวลและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวมวลและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก กลไกการพัฒนาที่สะอาด พลังงานทดแทนและโครงการพิเศษต่างๆ เสริมสร้าง พัฒนาองค์ความรู้ ติดต่อประสานงานสร้างความเข้าใจ และแสวงหาความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านการเงิน และด้านอื่นๆ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถาบันองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ประยุกต์ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการต่างๆ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต เสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ดำเนินงานตามแนวปฏิบัติจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน เพื่ออำนวยประโยชน์ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ องค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางด้านชีวมวล และสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมพลังงานทดแทนและโครงการพิเศษต่างๆ ทั้งภายในและนอกองค์กร และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
งานนวัตกรรมชีวมวลเชิงนิเวศ มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจ เชิงนิเวศ การใช้ประโยชน์จากไม้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้และเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งผลผลิตต่างๆ ได้แก่ ยางพารา เป็นต้น โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอุตสาหกรรม ไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศ ติดต่อประสานงานสร้างความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้าน การเงิน และด้านอื่นๆ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถาบันองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ปรับปรุงประสิทธิภาพ ในงานทางด้านอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจ เชิงนิเวศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต เสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ดำเนินงานตามแนวปฏิบัติจัดการสวนป่าอย่าง ยั่งยืน เพื่ออำนวยประโยชน์ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ องค์ความรู้ทางด้านอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจเชิงนิเวศและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจ เชิงนิเวศ ทั้งภายในและนอกองค์กร และปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: เมนูผู้ใช้
- ฮิต: 1440
โรงงานที่ผ่านการรับรอง ตามมาตรฐานสากล ปี 2557 ประกอบด้วย
ชื่อโรงงาน |
จังหวัด |
ผลิตภัณฑ์ |
ชนิดไม้ |
บริษัทโตเกียวพาราวู้ด (1986) จำกัด |
อุตรดิตถ์ |
พื้นไม้สัก,บานประตูไม้สัก |
สัก |
ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิจิตรปาเก้ |
สมุทรปราการ |
ไม้แปรรูป,ไม้บันไดสำเร็จรูป |
ยางพารา |
โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี (โรงเลื่อยร้องกวาง) |
แพร่ |
ไม้แปรรูป |
สัก |
โรงเลื่อยแม่เมาะ |
ลำปาง |
ไม้แปรรูป,ไม้ฟิงเกอร์จ๊อย |
สัก |
บริษัทอุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด |
กทม. |
ไม้พื้นสำเร็จรูปปาเก้,เฟอร์นิเจอร์ไม้สนาม |
สัก |
โรงงานที่ผ่านการรับรอง ตามมาตรฐานสากล ปี 255๘ ประกอบด้วย
ชื่อโรงงาน |
จังหวัด |
ผลิตภัณฑ์ |
ชนิดไม้ |
บริษัทโตเกียวพาราวู้ด (1986) จำกัด |
ระยอง |
โต๊ะและเก้าอี้ |
ยางพารา |
บริษัทเฮงชัยวู้ด อิมเอ๊กซ์พอร์ต จำกัด |
เชียงราย |
โต๊ะและเก้าอี้ |
สัก |
บริษัทคอนติเนนตัลบรรจุภัณฑ์ (ไทยแลนด์) จำกัด |
สมุทรปราการ |
กล่องกระดาษ |
- |
ถาวรลำปาง |
ลำปาง |
โต๊ะและเก้าอี้ , ของเล่นเด็ก |
ไม้สักและไม้นำเข้า |
โรงเลื่อยไม้สักและผลิตภัณฑ์ (บางโพ) |
กทม. |
โต๊ะและเก้าอี้ |
สัก |