สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ ปี 2546 - 2550 |
||||
1. | เป้าหมายโครงการฯ | จำนวน | 999,999 | ต้น |
2. | ดำเนินการปลูก | |||
ปี 2546 | จำนวน | 208,872 | ต้น | |
ปี 2547 | จำนวน | 66,077 | ต้น | |
ปี 2548 | จำนวน | 21,993 | ต้น | |
รวมทั้งสิ้น | จำนวน | 296,942 | ต้น | |
รายงานสรุปการปลูกต้นราชพฤกษ์ฯ สรุปภาพรวมการดำเนินงานโครงการฯ
รายงานสรุปการปลูกต้นราชพฤกษ์ฯ (แยกตามสวนป่า)
สรุปภาพรวมการดำเนินงานโครงการฯ (แยกตามสำนักงาน)
เอกสารโครงการ
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548
รวบรวมและสรุปรายงานโดย...ฝ่ายสารสนเทศ สำนักงานวิจัยพัฒนาและสารสนเทศ
จาก...หน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ
1) หลักการและเหตุผล
ในโอกาสอภิลักขิตมหามงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมี พระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 คณะอนุกรรมการอำนวยการ โครงการปลูกต้นราชพฤกษ์เฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 1/2546 วันที่ 25 มีนาคม 2546 ณ ห้องประชุมสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติให้มี การประชาสัมพันธโครงการปลูกต้นราชพฤกษ์เฉลิมพระเกียรติฯ โดยกำหนดให้ จัดทำโครงการปลูกต้นราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นประจำชาติ จำนวน 9 ล้านต้น ทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2546-2550 โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นเจ้าภาพโครงการ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในฐานะที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับไม้ มีประสบการณ์และความชำนาญในการปลูกสร้างสวนป่ามายาวนานกว่า 30 ปี และผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ อำนวยการในโครงการปลูกต้นราชพฤกษ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จึงได้จัดทำโครงการปลูกต้นราชพฤกษ์ จำนวน 999,999 ต้น มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการเพื่อถวายเป็นราชสักการะและถวายความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) ภูมิปัญญา
คนไทยโบราณ คิดค้นใช้เป็นยาสมุนไพร แก้อาการท้องผูก โดยใช้เนื้องในฝักแก่ก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) ต้มใส่เกลือรับประทาน ใช้เป็นไม้มงคล ใช้ในพีธีเสาหลักเมืองและพิธีกรรมต่างๆ ตามขนบธรรมเนียมไทยตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
3) ลักษณะทั่วไป และความสำคัญของต้นราชพฤกษ์
ต้นราชพฤกษ์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cassia Fistula Lin" มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อตามภาคต่างๆ คือ คูน ลมแล้ง ชัยพฤกษ์ ฯลฯ เป็นไม้ที่ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และกระจายพันธุ์ในป่าเต็งรัง มีมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กกับขนาดกลาง สูงประมาณ 5 - 15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาลและเทาอมขาว เรือนยอดรูปไข่ค่อนข้างหนาทึบ ให้ร่มเงาดี ใบเป็นช่อสีเขียวเป็นมัน ช่อดอกออกตามกิ่งข้างและห้อยลง ช่อดอกโปร่งยาว 20 - 45 ซม. ดอกมี 5 กลีบ สีเหลือง ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร เป็นไม้มงคล ใช้ในพิธิเสาหลักเมือง และพิธีกรรมต่างๆ ตามขนบธรรมเนียมไทยตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญเป็นไม้หวงห้าม ประเภท ก และเป็นต้นไม้ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2544 กำหนดให้ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติ
4) วัตถุประสงค์
4.1) เพื่อเป็นการสักการะ และถวายความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.2) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความสำคัญและคุณประโยชน์ของต้นราชพฤกษ์
4.3) เพื่อเพิ่มความสวยงามชุ่มชื้นให้กับพื้นที่สวนป่าของ อ.อ.ป. เป็นการเสริมสร้างแหล่งท่องเที่ยวของ อ.อ.ป. และของประเทศ ในฤดูที่ดอกราชพฤกษ์บานสะพรั่งและเพื่อเพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยวให้กับ อ.อ.ป. และประเทศชาติ
5) เป้าหมาย
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้กำหนดเป้าหมายที่จะปลูกต้นราชพฤกษ์ในสถานที่ดำเนินโครงการ รวมทั้งสิ้น 999,999 ล้านต้น ณ สถานที่ปลูกตามหน่วยงานต่างๆ ของ อ.อ.ป. ทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2546 – 2550
6) วิธีการดำเนินการ
6.1) การมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ รับผิดชอบปลูกและบำรุงรักษา
6.1.1) สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคเหนือ รับผิดชอบปลูก จำนวน 440,000 ต้น
6.1.2) สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคตะวันออก รับผิดชอบปลูก จำนวน 203,000 ต้น
6.1.3) สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคใต้ รับผิดชอบปลูก จำนวน 303,000 ต้น
6.1.4) สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ รับผิดชอบปลูก จำนวน 49,999 ต้น
6.1.5) สำนักงานการตลาดและการขาย สำนักงานอุตสาหกรรม รับผิดชอบปลูกจำนวน 499 ต้น และสำนักงานอื่นๆ ในสำนักงานกลาง รับผิดชอบปลูก จำนวน 3,501 ต้น โดยให้สำนักงานอำนวยการเป็นผู้ประสานในการจัดแบ่งให้ สำนักงานต่างๆในกสำนักงานกลางปลูก
6.2) สถานที่ปลูก
6.2.1) ปลูกบริเวณสวนป่าของ อ.อ.ป.
6.2.2) ปลูกบริเวณบ้านพักพนักงาน อ.อ.ป.
6.2.3) ปลูกบริเวณวัด และที่สาธารณะต่างๆ ที่หน่วยงานติดต่อประสานงาน
6.3) แนวปฏิบัติในการปลูก
6.3.1) ต้องปลูกและจัดภูมิทัศน์ให้เป็นว่าบริเวณกลุ่มที่ปลูกต้นราชพฤกษ์มีความโดดเด่นสวยงาม สมกับเป็นต้นไม้ประจำชาติ
6.3.2) ควรปลูกในบริเวณที่คนผ่านไปมาเห็นได้ง่ายและทราบได้ว่าเป็นหน่วยงาน สำนักงาน และสวนป่าของ อ.อ.ป. เช่น บริเวณหน้าสำนักงาน บริเวณสวนป่า ที่ติรดิมถนนสวยงาม สมกับเป็นต้นไม้ประจำชาติ
6.3.3) การปลูก บำรุง ดูแลรักษา เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงาน อ.อ.ป. ข้าราชการ ราษฎร และชุมชนในท้องถิ่น
6.4) ให้จัดทำป้ายประกาศว่าเป็นการปลูกต้นราชพฤกษ์ เนื่องในโอกาสอภิลักขิตมหามงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ระบุจำนวนปลูก พื้นที่ปลูก จัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้แก่หน่วยงาน อ.อ.ป. และประชาชนทั่วไป ให้รู้ถึงคุณประโยชน์ และความสำคัญของต้นราชพฤกษ์
6.5) ปลูกและบำรุงรักษา โดยผู้ปฏิบัติงาน อ.อ.ป. คนงานสวนป่า ข้าราชการ และราษฎรในพื้นที่
6.6) ให้ติดเบอร์ประจำ ต้นไม้ที่ปลูกทุกต้นโดยติดกับหลักไม้เล็กๆ ที่ปักไว้หน้าต้นไม้เพื่อให้ทราบเบอร์ใด ปลูกที่ใด อยู่ในความรับผิดชอบ ของผู้ใด และจัดทำทะเบียนต้นไม้ที่ปลูก แล้วแจ้งให้ฝ่ายสารสนเทศ
เก็บรวบรวมไว้
6.7) การจัดหากล้าไม้ ให้ทุกหน่วยงานขอรับการสนับสนุนกล้าไม้จากกรมอุทยานแห่งชาติ หากได้รับไม่เพียงพอ ให้ทำการเพาะชำขึ้นมาเอง
6.8) กสนบำรุงรักษา ให้ทำการดายวัชพืช บำรุงดูแลอย่างสม่ำเสมอ และให้ใช้ EM ในการบำรุงดูแล
7) แรงจูงใจ
แรงจูงใจนอกเหนือจากที่ปลูกและบำรุงรักษา เพื่อถวายแดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีรางวัลให้อีกดังนี้
7.1) ผู้ปลูกและบำรุงรักษา ต้นไม้เบอร์ใดมีเลขท้ายสี่ตัว รางวันที่ 1 ของสลากกินแบ่งของรัฐบาลที่ออกประกาศทุกวันที่ 16 พฤศจิกายน และต้นไม้ต้นนั้น เจริญงอกงามดี จะได้รับรางวัลจาก อ.อ.ป.
7.2) ผู้ปลูกและบำรุงรักษาต้นราชพฤกษ์จัดแต่งภูมิทัศน์บริเวณที่กลุ่มต้นราชพฤกษ์มีความโดดเด่นสวยงามให้สมกับเป็นต้นไม้ประจำชาติ จะได้รับรางวัลจาก อ.อ.ป. ทุกปี โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงานทุกสำนักงานส่งประกวด
7.3) ผู้ปลูกที่ดำเนินการให้ชุมชนมีส่วนร่วมปลูกเทอดพระเกียรติได้มากที่สุดจะได้รับรางวัลจาก อ.อ.ป.
7.4) ผู้ปลูกที่ดำเนินการปลูกได้ดีเด่นและประหยัด มีคุณภาพสวยงาม จะได้รับรางวัลจาก อ.อ.ป.
7.5) ผู้ที่ได้รับรางวัลจะได้รับการพิจารณาถือเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดีความชอบ
8) ระยะเวลาการปลูก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2550
9) งบประมาณ
ใช้เงินงบประมาณของ อ.อ.ป.
10) ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
และผู้อำนวยการสำนักงานทุกสำนักงาน