ความเป็นมา

         องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2490 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จนำพระราชอาคันตุกะชมการแสดงการทำไม้ด้วยช้างขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ณ บริเวณวนอุทยานน้ำตกแม่สา จังหวัดเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2508 ได้มีพระราชดำรัสว่า “องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในฐานะที่มีหน้าที่ทำไม้โดยตรง ควรจะได้ช่วยเหลือรัฐในการปลูกสร้างสวนป่าอีกแรงหนึ่ง” ต่อมาในปี 2511 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จึงเริ่มดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจ  
         ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงมีกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว ทำให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ตระหนักถึงความสำคัญในการปลูกสร้างสวนป่า โดยได้ดำเนินการปลูกสร้างสวนป่า ด้วยระบบหมู่บ้านป่าไม้ เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ชะลอการย้ายถิ่นฐาน ลดการบุกรุกทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอย เพื่ออนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น จนกลายเป็นทรัพย์สมบัติค้ำจุนให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และยังเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญของประเทศในการบริหารจัดการทรัพยากร ป่าไม้ ซึ่งดำเนินการในเขตป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันได้ดำเนินการในเชิงอนุรักษ์ควบคู่กันไปด้วย ต่อมาในปี 2553 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จึงได้ปรับบทบาทเน้นการอนุรักษ์มากขึ้นพร้อมกับการพัฒนาสังคมและดูแลสิ่งแวดล้อม ควบคุมกับการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน  
         ในปี 2555 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเป็นหนึ่งในหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ กลุ่ม G4– กลุ่มการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ภายใต้กรอบแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่ห้า (ตุลาคม 2554 – กันยายน 2559) โดยเริ่มจากโครงการพฤกษานุรักษ์ มเหสักข์ นวมินทรานุสร (เดิมชื่อ โครงการรวมใจภักดิ์ ปลูกมเหสักข์-สักสยามินทร์) โดยจัดกิจกรรมในพื้นที่ สวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  
         ปัจจุบัน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ ตามแผนระยะ 5 ปีที่เจ็ด (ตุลาคม 2564 – กันยายน 2569) จำนวน 6 กิจกรรม 13 โครงการ  
  กิจกรรมที่ 1 : กิจกรรมปกปักทรัพยากร จำนวน 1 โครงการ
         1. โครงการอนุรักษ์ไม้ป่าเพื่อเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
  กิจกรรมที่ 3 : กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร จำนวน 5 โครงการ
         2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ยางนา เพื่อเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ สวนป่ากาญจนดิษฐ์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
         3. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ดั้งเดิมที่หายากในสวนป่าแม่สุก องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
         4. โครงการพฤกษานุรักษ์ มเหสักข์ นวมินทรานุสร
         5. โครงการปลูกพันธุ์ไม้ดอกสีม่วง เฉลิมพระเกียรติฯ
         6. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ดั้งเดิมที่หายากในพื้นที่สวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
  กิจกรรมที่ 4 : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร จำนวน 1 โครงการ
         7. การปลูกทดสอบไม้สักเพื่อเพิ่มผลผลิตในการปลูกสร้างสวนป่า
  กิจกรรมที่ 5 : กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร จำนวน 3 โครงการ
         8. จัดทำฐานข้อมูลช้างไทย
         9. ฐานข้อมูลต้นมเหสักข์-สักสยามินทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
         10. ฐานข้อมูลไม้ดั้งเดิมที่หายากในพื้นที่สวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
  กิจกรรมที่ 6 : กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช
  กิจกรรมที่ 7 : กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร จำนวน 1 โครงการ
         11. โครงการพิพิธภัณฑ์ความรู้เกี่ยวกับช้าง
  กิจกรรมที่ 8 : กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร จำนวน 2 โครงการ
         12. พัฒนาเว็บไซต์และระบบฐานข้อมูล อพ.สธ.
         13. การเผยแพร่โดยสื่อต่างๆ
  
 

การดำเนินงาน

         ได้มีการดำเนินโครงการปลูกมเหสักข์-สักสยามินทร์ ในพื้นที่สวนป่าของ อ.อ.ป. ทั่วประเทศ โดยมีสวนป่าที่เข้าร่วมโครงการฯ ดังนี้
ปี 2555
        1. สวนป่าพบพระ จังหวัดตาก พื้นที่ 11 ไร่
        2. สวนป่าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง พื้นที่ 11 ไร่
        3. สวนป่าห้วยน้ำขาว จังหวัดกระบี่ พื้นที่ 11 ไร่
ปี 2556
        4. สวนป่ากาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี พื้นที่ 11 ไร่
        5. สวนป่าลาดกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ 11 ไร่
        6. สวนป่าช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ 11 ไร่
        7. สวนป่าห้วยระบำ จังหวัดอุทัยธานี พื้นที่ 17 ไร่
        8. สวนป่าภูสวรรค์ จังหวัดเลย พื้นที่ 11 ไร่
        9. สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ ในพระอุปถัมภ์ จังหวัดลำปาง พื้นที่ 9.9 ไร่
        10. สวนป่าทุ่งเกวียน จังหวัดลำปาง 100 ต้น
        11. สำนักงานสวนป่าทั่วประเทศ 111 สวนป่าๆ ละ 9 ต้น
 ปี 2557  
 

         ในปีนี้การดำเนินกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นการดูแลบำรุงรักษา และวัดความเจริญเติบโตต้นไม้ที่ปลูกในแปลงเก่า